GP HOME HEADER
GP HOME HEADER
Home Articles Pocket One FLYING DREAM: บินสู่ความฝันแห่งนภา

FLYING DREAM: บินสู่ความฝันแห่งนภา

 

การโบยบินสู่ท้องนภาอันกว้างใหญ่เคยถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมนุษย์ในอดีต เพราะนอกจากจะเป็นการท้าทายความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติแล้ว ยังท้าทายกับชีวิตตัวเองอีกด้วย

แต่สุดท้าย…ความอยากรู้และจิตใจที่กระหายถึงท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ก็ยังคงเรียกร้อง จนมนุษย์สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าเครื่องบินได้เป็นผลสำเร็จ และเริ่มเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยระยะที่ไกลมากขึ้น…มากขึ้น

ในยุคเริ่มแรกนั้น การบินถือเป็นเรื่องสำคัญที่อาจต้องแลกมาด้วยชีวิต เพราะไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เนื่องจากองค์ความรู้ยังไม่มีเพียงพอเฉกเช่นยุคสมัยใหม่ ที่ได้รวบรวมความรู้ด้านดาราศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา และกฎฟิสิกส์ที่ทำให้เราได้เดินทางปลอดภัยมากขึ้น ในยุคเริ่มแรกการบิน ถ้าผู้ใดหาญกล้าท้าแรงลมบนท้องฟ้านั่นถือว่าเป็นยอดคนเลยทีเดียว ในช่วงยุค 1900s นับเป็นยุคแห่งการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ รวมถึงการบิน เริ่มมีการใช้เรือเหาะและบอลลูนอย่างแพร่หลาย เรือเหาะหรือบอลลูนแม้จะลอยในอากาศได้ระยะเวลายาวนานและข้ามดินแดนไปได้แทบทุกที่ แต่มีข้อเสียใหญ่คือไม่สามารถบังคับควบคุมการเดินอากาศให้ไปได้อย่างใจคิด เพราะการเดินทางต้องอาศัยกระแสลมส่งและการบังคับทิศทางที่แม่นยำ ถึงจะทำให้เดินทางได้อย่างปลอดภัยและไปยังจุดหมายที่ต้องการได้ ส่วนเครื่องบินนั้นใช้พลังของเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนและผลักตัวเองให้บินขึ้นสู่อากาศ พร้อมกับส่งกำลังบังคับทิศทางไปในทิศที่ต้องการได้ตามใจปรารถนา แต่ปัญหาหลักในสมัยนั้นก็คือความน่าเชื่อถือของระบบเครื่องยนต์ ระบบบังคับควบคุม และการนำทาง ยิ่งเดินทางไกลมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงจะหลงทางจนเครื่องน้ำมันหมด หรือการเข้าไปในสภาพอากาศแปรปรวนจนทำให้เครื่องตกได้ในที่สุด

ในเวลาเดียวกันที่ประเทศฝรั่งเศส ดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าก้าวหน้าด้านศิลปะ การออกแบบ และวิศวกรรม รวม    ถึงการแพทย์ ก็เป็นแหล่งที่ดึงดูดนักวิทยาศาสตร์และนักคิดมากมาย รวมถึง Alberto Santos-Dumont (อัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์) ชายผู้มั่งคั่งที่ย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศบราซิลอันห่างไกล เขามาจากครอบครัวผู้ครอบครองไร่กาแฟนอันกว้างใหญ่แห่งบราซิลที่นำโดยพ่อของเขา Henri Dumont (อองรี ดูมงต์) ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส หลังจากที่ Henri ประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน ทำให้ร่างกายบางส่วนเป็นอัมพาต และการรักษาในบราซิลนั้นยากยิ่งที่จะหาหมอและวิทยาการการแพทย์ที่ก้าวหน้าได้ จึงเป็นเหตุผลให้ Henri ขายกิจการทั้งหมดและมุ่งหน้ากลับฝรั่งเศสเพื่อรับการรักษาที่ดีกว่า พร้อมกับการตั้งรกรากใหม่ในดินแดนยุโรปอีกครั้ง

Alberto Santos-Dumont (1873-1932)



เมื่อ Santos มาถึงฝรั่งเศสก็ตื่นตะลึงกับวิทยาการก้าวหน้ามากมาย และหลงรักเกี่ยวกับการเดินทางในอากาศ จนในที่สุดเขาได้สร้างเรือเหาะที่สามารถบังคับทิศทางด้วยตัวเองเป็นผลสำเร็จในปี 1901 และได้รับรางวัลจากการบังคับบอลลูนให้บินรอบหอไอเฟิล เขามอบเงินรางวัล ที่ได้ให้แก่ช่างเทคนิคของเขาและชาวบ้านยากจนเพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคม นั่นทำให้ชื่อเสียงของเขาเลื่องลือไปทั่วโลกในฐานะนักบิน นักคิด และผู้ช่วยเหลือสังคม ในปี 1904 ทางทำเนียบขาว โดยประธานาธิบดี Theodore Roosevelt (ธีโอเดอร์ รูสเวลท์) แห่งสหรัฐ อเมริกาได้เชิญ Santos เข้าพบเพื่อเป็นเกียรติและแสดงความยินดีแก่เขา ในปี 1905 เขาได้เริ่มสร้างเครื่องบินเป็นของตนเอง

อีก 1 ปีต่อมา ในปี 1906 ความฝันอันยิ่งใหญ่ของ Santos ก็เริ่มเดินทางสู่ก้าวแรก ด้วยเครื่องบิน 14-Bisž (โฟร์ทีนบิส) เครื่องบินแบบแรกของโลกที่ออกแบบให้ปีกมี 2 ชั้น ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ V8 มีกำลัง 24 แรงม้า โครงสร้างผลิตด้วยไม้น้ำหนักเบาจากสนและไม้ไผ่ที่เชื่อมยึดด้วยโลหะ เมื่อแรกทดสอบ เครื่องบิน 14-Bisž สามารถบินเกาะอากาศได้ในระยะเวลาสั้น ด้วยเพดานบิน 2-3 เมตร ในระยะทางเพียง 60 เมตร แต่นั่นคือสิ่งที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เพราะ Santos ได้ออกแบบและสร้างเครื่องบินที่ใช้กำลังเครื่องยนต์แบบปีก 2 ชั้นขึ้นบินครั้งแรกเป็นผลสำเร็จ และได้พัฒนารูปแบบต่อๆ มาเป็นรุ่น Demoisellež (เดมัวแซลล์) เมื่อคิดค้นเครื่องบินแบบใหม่สำเร็จ Santos ก็ไม่หวงแหนความคิด แต่มีน้ำใจเผยแพร่การคิดค้นนี้ให้ผู้อื่นนำไปศึกษาได้ในวงกว้างโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ใดๆ อยู่เสมอ แต่ความมีน้ำใจเพื่อสังคมเช่นนี้ ทำให้เขาต้องทุกข์ตรมอย่างมากจากการที่กองทัพนำเครื่องบินของเขาไปพัฒนาต่อจนเป็นเครื่องบินเพื่อการสงคราม และมีส่วนอย่างมากในสงครามโลกครั้งที่ 1

Alberto Santos-Dumont กับเครื่องบินปีก 2 ชั้นของเขา

 

Santos เป็นคนแรกที่ใช้งานนาฬิกาพกที่ดัดแปลงมาเป็นนาฬิกาข้อมือ เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ Louis Cartier (หลุยส์ คาร์เทียร์) และได้เล่าให้เพื่อนรักฟังว่า ตนประสบปัญหาอย่างมากกับการใช้นาฬิกาพกขณะทำการบิน Cartier จึงดัดแปลงนาฬิกาพกให้มีแถบสายเพื่อรัดข้อมือ และนี่ถือเป็นต้นกำเนิดนาฬิกาข้อมือในยุคแรกๆ

หลังจากที่ต้องทรมานกับโรคประจำตัว Santos ก็เริ่มคิดถึงบ้านเกิดและเดินทางกลับไปยังบราซิลเมื่อปี 1918 โดยอาศัยในแถบชานเมืองใกล้กรุงริโอ เดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) ไม่กี่ปีต่อมาเขาก็เสียชีวิตที่บ้านเกิด ปัจจุบันบ้านที่เขาพำนักในบั้นปลายชีวิตได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อระลึกถึงตัวเขา

 

เรือเหาะของ Alberto Santos-Dumont ขณะบินวนรอบหอไอเฟิลในวันที่ 13 กรกฎาคม 1901

 

กลับมาถึงนาฬิกาพกเรือนเด่นของ Santos ที่ W นำมาฝากกันในครั้งนี้ โดยเป็นผลงานที่ L. Leroy & Ciež (แอล เลอรอย เอต์ ซี) แบรนด์นาฬิกาชั้นสูงแห่งกรุงปารีสในยุคนั้น ผลิตเป็นพิเศษแก่ Santos นาฬิกาพกเรือนนี้ผลิตขึ้นเพื่อมอบให้เป็นตัวแทนความผูกพันระหว่าง Henri และ Santos และเป็นการระลึกถึงความต้องการของ Santos เมื่อครั้งที่อยากได้นาฬิกาพกสักเรือนที่มีฟังก์ชันการทำงานเหมาะสมกับการบิน นาฬิกาพกเรือนนี้ผลิตตัวเรือนแบบ 4 ชิ้นจากทอง 18K ทำงานด้วยกลไกไขลานพร้อมฟังก์ชันจับเวลาโครโนกราฟแบบ Chro- nographe Dedoublantž (โครโนกราฟ เดอดูบลองท์) หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า Split-seconds Chronographž (สปลิทเซกันด์ส โครโนกราฟ) ที่สามารถจับเวลาแยกกันได้พร้อมกัน 2 รายการ และมีมาตรจับเวลาแบบ 30 นาที ฝาด้านนอกแกะสลักลวดลายและอักษรย่อ HDž ซึ่งเป็นชื่อย่อของ Henri Dumont ฝาด้านในแกะสลักคำบรรยายที่ระลึกถึงว่านาฬิกาเรือนนี้ถูกสั่งผลิตโดย Henri และเพื่อ Santos เท่านั้น

 

                    นาฬิกาพกเรือนพิเศษนี้ทำงานด้วยกลไกแบบขึ้นลานด้วยมือผ่านเม็ดมะยมที่ติดตั้งไว้เหนือตำแหน่ง 12 นาฬิกา สั่งการระบบจับเวลาทั้งเริ่ม หยุด และรีเซตด้วยปุ่มกดที่ติดตั้งไว้บนยอดเม็ดมะยม โดยสั่งการแยกเข็มจับเวลาเป็นวินาทีผ่านปุ่มกดที่ติดตั้งไว้ข้างตัวเรือนบริเวณตำแหน่ง 11 นาฬิกา ผลงานแสนประณีตเรือนนี้ถูกนำออกประมูลพร้อมกับสายหนังที่ Henri สั่งผลิตมาพร้อมเรือนนาฬิกา เพื่อมอบให้ Santos บุตรชายนักบินของเขาใช้ร้อยห่วงบนยอดนาฬิกาเพื่อคาดลงบนข้อมือขณะทำการบิน นี่จึงเป็นมากกว่าแค่ของขวัญจากพ่อถึงลูก แต่ยังเป็นตัวแทนแห่งความรักความห่วงใยอีกด้วย

เป็นที่น่าเสียดายว่า ในงานประมูลเมื่อปี 2009 ที่จัดขึ้นโดย Anti- quorumž (แอนติควอรุม) นั้น นาฬิกาพกเรือนนี้ไม่ได้ถูกประมูลออกไป ถ้าให้คาดเดา ในเวลานั้นตลาดนาฬิกาพกยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก และนักสะสมยังเน้นเฟ้นหานาฬิกาข้อมือเป็นส่วนใหญ่ ทำให้นาฬิกาไม่ได้ ถูกประมูลออกไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คุณค่าและประวัติอันโดดเด่นก็เป็นสิ่งที่เราไม่ลืมเลือน และยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้ผู้ที่ได้พบเห็นนาฬิกาเรือนนี้ตลอดไป

 

SEIKO JAN 23 CONTENT RGT