UN HEADER 23
UN HEADER 23
Home Articles Mean Time มารู้เรื่องสารกันแสงสะท้อนกันเถอะ

มารู้เรื่องสารกันแสงสะท้อนกันเถอะ

glas 002

Q : การเคลือบกันแสงสะท้อนของกระจกนาฬิกามีเคล็ดลับอย่างไร ?

A : การเคลือบกันแสงสะท้อน (Anti-reflective Coating) เป็นการเคลือบสารเคมีบางอย่างลงไปบนผิวกระจกเพื่อลดแสงสะท้อนที่เกิดขึ้นเมื่อแสงกระทบกับพื้นผิวกระจก หรืออีกนัยหนึ่งคือให้แสงสามารถผ่านผิวกระจกไปได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เราสามารถมองผ่านกระจกได้ดียิ่งขึ้น

 

กระบวนการเคลือบสารกันแสงสะท้อนเริ่มต้นที่การนำชิ้นงานหรือกระจกเข้าเตาอบให้ร้อน เมื่อร้อนได้ที่แล้วก็จะปล่อยละอองของสารแมกนีเซียมฟลูออไรด์ให้ค่อยๆ เกาะบนผิวหน้าของเลนส์จนเป็นชั้นของแมกนีเซียมฟลูออไรด์เคลือบอยู่บนหน้าชิ้นงาน ซึ่งช่วยลดปริมาณของแสงสะท้อนที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นผิวของชิ้นงานลง อย่างไรก็ตาม แม้แสงจะผ่านได้เกือบทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงมีแสงสะท้อนบางโทนสี เช่นสีฟ้าหรือสีเขียวหลงเหลือให้เห็นอยู่บนพื้นผิวอยู่ดี

 

บางโรงงานจะเคลือบกันแสงสะท้อนเฉพาะด้านในเพียงด้านเดียว ในขณะที่บางรายเลือกที่จะเคลือบเพื่อลดแสงสะท้อนทั้ง 2 ด้าน ซึ่งต่างก็มีเหตุผลอธิบายสิ่งที่ตนเลือกปฏิบัติ คือพื้นผิวของชั้นสารที่ช่วยในกระบวนการลดแสงสะท้อนนี้จะเป็นรอยได้ง่ายกว่าตัวเนื้อกระจกเอง ทำให้การเคลือบทั้งด้านในและด้านนอกอาจก่อให้เกิดปัญหาผิวของสารเคลือบเป็นรอยอันเนื่องมาจากการใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง ตัวการสำคัญที่สร้างปัญหาให้กับพื้นผิวของสารกันแสงสะท้อนคือเกลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกลือจากเหงื่อและคลอรีนที่ใช้เป็นส่วนผสมในสระว่ายน้ำ ซึ่งหากทิ้งร่องรอยของสารเหล่านั้นไว้บนผิวกระจก จะทำให้ผิวเลเยอร์เป็นเชื้อราและก่อให้เกิดความเสียหายได้ การใช้กระดาษหรือผ้าแข็งๆ เช็ดถูกไปบนผิวกระจกที่แห้งก็เป็นอีกสาเหตุที่สร้างความเสียหายให้กับสารกันแสงสะท้อน จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตบางค่ายเลือกที่จะเคลือบสารกันแสงสะท้อนไว้ด้านในเพียงด้านเดียว

1 COMMENT

SEIKO JUNE 23 CONTENT RGT